วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม



ข้อมูลการเดินทาง




แหล่งอ้างอิง




ข้อมูลผู้จัดทำ
นางสาวสุวนันท์ ดวงอุปปะ 
มหาวิทยาลัยยราชภัฏเชียงราย
crru581758124@gmail.com


สถานศึกษาในพื้นที่







1. วังโป่งศึกษา  วังโป่งศึกษา โรงเรียน ใน ตำบล วังโป่ง อำเภอ วังโป่ง จังหวัด สพม. เขต 40



2. โรงเรียน วังโป่งพิทยาคม  โรงเรียน วังโป่งพิทยาคม โรงเรียน ใน ตำบล ท้ายดง อำเภอ วังโป่ง จังหวัด สพม. เขต 40



         3. โรงเรียน ชุมชนบ้านวังกระดาษเงิน  โรงเรียน ชุมชนบ้านวังกระดาษเงิน โรงเรียน ใน ตำบล ท้ายดง อำเภอ วังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1


         4. โรงเรียน บ้านคลองน้ำคัน  โรงเรียน บ้านคลองน้ำคัน โรงเรียน ใน ตำบล ซับเปิบ อำเภอ วังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1

     

          5. โรงเรียน บ้านเชิงชาย  โรงเรียน บ้านเชิงชาย โรงเรียน ใน ตำบล ซับเปิบ อำเภอ วังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1



            6. โรงเรียน บ้านซับเปิบ  โรงเรียน บ้านซับเปิบ โรงเรียน ใน ตำบล ซับเปิบ อำเภอ วังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1



           7. โรงเรียน บ้านดงลึก  โรงเรียน บ้านดงลึก โรงเรียน ใน ตำบล วังศาล อำเภอ วังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1




          8. โรงเรียน บ้านดงหลง  โรงเรียน บ้านดงหลง โรงเรียน ใน ตำบล ท้ายดง อำเภอ วังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1




         9. โรงเรียน บ้านด่านช้าง  โรงเรียน บ้านด่านช้าง โรงเรียน ใน ตำบล ท้ายดง อำเภอ วังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1



             10. โรงเรียน บ้านทางข้าม  โรงเรียน บ้านทางข้าม โรงเรียน ใน ตำบล วังโป่ง อำเภอ วังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1

แหล่งทองเที่ยว


สถานที่ที่น่าสนใจ
1. อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

       
          เริ่มกันที่ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ถือเป็นหนึ่งในสถานที่นอนรับลมเย็น ๆ พร้อมนอนชมดาวในยามค่ำคืนได้เป็นอย่างดี ซึ่งพื้นที่อุทยานฯ เป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมถึง 2 จังหวัด คือจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดชัยภูมิ และด้วยความสมบูรณ์ของอุทยานฯ ที่เต็มไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทำให้มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี

     
            ส่วนสถานที่ท่องเที่ยว เช่น น้ำตกตาดพรานบา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่บนหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตร, จุดชมวิวถ้ำผาหงษ์ สำหรับชมพระอาทิตย์ตกในยามเย็น, จุดชมวิวภูค้อ สำหรับชมพระอาทิตย์ขึ้นและชมวิวกว้างไกล สามารถมองเห็นภูกระดึงและภูผาจิตได้, สวนสนบ้านแปกหรือดงแปก ป่าที่เต็มไปด้วยต้นสนสองใบขึ้นอยู่จำนวนมาก รวมทั้งเป็นสถานที่ชมดอกกล้วยไม้ป่าและพันธุ์ไม้แปลกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคมได้, ภูผาจิต (ภูด่านอีป้อง) เป็นภูเขาที่มีที่ราบบนยอดเขาคล้ายภูกระดึงเหมาะสำหรับชมวิวป่าสน, น้ำตกเหวทราย เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดที่เกิดขึ้นจากห้วยสนามทราย ซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตแดน และป่าเปลี่ยนสีในเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ผืนป่าบริเวณนี้จะผลัดใบเปลี่ยนสีอย่างสวยงาม เป็นต้น

            นอกจากนี้ยังตั้งอยู่ใกล้สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ตอม่อสูงสุดในประเทศไทยสูงถึง 50 เมตร คือ "สะพานข้ามห้วยตอง" และได้รับการตั้งชื่อเป็นทางการว่า "สะพานพ่อขุนผาเมือง" สถานที่ท่องเที่ยวสุดหวาดเสียวแต่แฝงไปด้วยความสวยงามและน่าทึ่ง ซึ่งผู้ที่เดินทางต้องระมัดระวังการเดินทางไปเที่ยวที่นี่เป็นอย่างมากด้วยค่ะ ทั้งนี้สามารถอัพเดทข่าวสารของอุทยานฯ ได้ที่ เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว (Namnao National Park)





       
2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์


          ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ หรือชื่อเดิมสถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ 3 บ้านเสลียงแห้ง ตำบลสะเดาะพง อำเภอเขาค้อ เป็นหนึ่งในสถานีทดลองเกษตรที่สูงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยธรรมชาติจนได้รับการขนานนามให้เป็น “สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย” ทำให้ที่นี่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนในทุก ๆ ฤดู แถมยังสามารถเข้ามาชมแปลงผัก ผลไม้ ที่เป็นพืชเมืองหนาวได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร พร้อมทั้งป่าธรรมชาติที่เต็มไปด้วยต้นค้อ สัญลักษณ์ของอำเภอเขาค้ออีกด้วย


       

3. เขาค้อ


             เรียกได้ว่าเป็นดินแดนมหัศจรรย์แห่งการพักผ่อนเลยก็ว่าได้ สำหรับอำเภอเขาค้อ หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดผู้คนทุกฤดูกาล สำหรับชื่อเขาค้อนั้นมาจากเดิมบริเวณนี้มีต้นค้อ ซึ่งเป็นต้นไม้ตระกูลปาล์มอยู่เป็นจำนวนมาก และนอกจากอากาศที่เย็นสบายแล้วที่นี่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายที่ เช่น อนุสาวรีย์จีนฮ่อ อนุสาวรีย์ทหารอาสาจากหน่วยรบกองพลที่ 93 ซึ่งมาช่วยรบในพื้นที่เขาค้อและเสียชีวิตในการสู้รบ, ฐานอิทธิ จุดชมวิวที่สวยงาม ซึ่งในอดีตเคยเป็นฐานสำคัญทางยุทธศาสตร์ ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อาวุธ จัดแสดงปืนใหญ่ ซากรถถัง และอาวุธที่ใช้สู้รบกันบนเขาค้อ, อนุสาวรีย์ผู้เสียสละจารึกชื่อผู้เสียชีวิตจากการสู้รบในสงคราม เป็นต้น



     


  4. ภูทับเบิก


           เมื่อเอ่ยถึงชื่อ ภูทับเบิก หลายคนต้องนึกถึงวิวภูเขาไร่กะหล่ำปลี ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกขนาดใหญ่ของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และด้วยสถานที่ตั้งที่อยู่บนจุดที่สูงที่สุดของจังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้ที่นี่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยว เพราะมีอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี สามารถนอนกางเต็นท์ชมดาวในตอนกลางคืน นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น สถานีวิจัยเพชรบูรณ์แปลงทดลองทับเบิก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แหล่งสาธิตการปลูกพืชเมืองหนาว และวัดป่าภูทับเบิก ซึ่งมีพระมหาเจดีย์โพธิปักขิยธรรม เจดีย์เพชร 37 ยอด บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ธาตุไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสักการะ และอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จะมีดอกนางพญาเสือโคร่งสีชมพูบานสะพรั่งไปทั้งภูเขา ให้ได้ถ่ายภาพความสวยงาม




       


 5. ไร่กำนันจุล (ฟาร์มสเตย์)


          กำนันจุล คุ้นวงศ์ เป็นเกษตรกรเจ้าของไร่ส้มที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเพชรบูรณ์มายาวนาน และยังเป็นเกษตรกรตัวอย่างที่ชอบค้นคว้าทดลองเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้พัฒนาการด้านการเกษตรอยู่เสมอ จนกลายเป็นแหล่งผลิตส้มขนาดใหญ่ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ ทำให้ชื่อเสียงของ “ไร่ส้มกำนันจุล” เป็นที่รู้จักมากขึ้น ปัจจุบันที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเพียบพร้อมไปด้วยผลิตภัณฑ์แปรรูปอร่อย ๆ

       ที่ผลิตจากวัตถุดิบหลักที่ได้จากไร่, กลุ่มสินค้าผ้าไหมไทย, สินค้าเครื่องสำอางสมุนไพร รวมทั้งเปิดเป็นฟาร์มสเตย์สำหรับผู้ที่ต้องการพักผ่อนด้วย ทั้งนี้สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้จากเว็บไซต์www.chulthai.com และ เฟซบุ๊ก ไร่กำนันจุล





อาหารพื้นเมือง


อาหารพื้นเมืองที่พบบ่อย

     
           ภาคกลาง นับได้ว่าเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ ถือได้ว่าภาคกลางเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสภาพทางภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง หนอง บึงมากมาย จึงทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศไมว่าจะเป็นด้าน เกษตรกรรม หรือปศุสัตว์ นอกนั้นจากในบางพื้นที่ของภาคกลางยังมีบางส่วนที่ติดกับทะเลจึงทำให้ภาคกลาง มีสัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารที่หลากหลาย
         
     
          ฝอาหารภาคกลาง เป็นประดิษฐ์กรรมทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อ ชาติได้แก่ จีน อินเดีย ลาง เขมร พม่า เวียดนาม และประเทศจากชาติตะวันตกที่เข้ามานับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลายทั้งในด้านการปรุง รสชาติ และการตกแต่งที่แปลกตา น่ารับประทาน มีความวิจิตรบรรจงประณีตที่ได้มาการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารจากภายในวัง คนไทยภาคกลางกินข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง
       

     
           รสชาติอาหารภาคกลางนับได้ว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศมากกว่าอาหารภาคอื่น อาหารภาคกลางมีการผสมผสานของหลาหลายรสชาติทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เอกลักษณ์ของรสชาติอาหารไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุงเพียงอย่างเดียว รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหารอาจได้ทั้งจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก ผลไม้บางชนิด เช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดความหลากหลายใช้ชนิด ของอาหารไทยภาคกลาง เช่น ต้มยำ ใช้มะนาวเพื่อให้รสเปรี้ยว แต่ต้มโคล้งใช้น้ำมะขามเปียกเพื่อให้รสเปรี้ยวแทน นอกจากนั้นยังมีรสเค็ม ที่ได้จากน้ำปลา กะปิ รสขม ที่ได้จากพืชชนิดต่างๆ เช่น มะระ เป็นต้น และความเผ็ด ที่ได้จากพริก พริกไทย และเครื่องเทศ อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มีครบทุกรส ซึ่งอาหารไทยที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จักและนิยมบริโภคล้วนแต่เป็นอาหารภาค กลางทั้งนั้นไมว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ผัดไทย พะแนง เป็นต้น
       วิธีการปรุงอาหารภาคกลางมีความหลากหลาย ซับซ้อน มีกรรมวิธีในการปรุงที่หลายแบบ ได้แก่ แกง ต้ม ผัด ทอด ยำ เครื่องจิ้ม เช่น น้ำพริก หลน เป็นต้น อาหารในสำรับมักประกอบด้วยอาหาร 4 ประเภทด้วยกัน คือ แกงเผ็ด แกงจืด ผัดหรือทอด และน้ำพริก รสชาติของอาหารไทยมักจะออกรสเผ็ด ดังนั้นจึงต้องมีอาหารรสเค็ม หรือเปรี้ยวๆ หวานๆ แนม เพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ด ดังนั้นคำว่า “ เครื่องเคียง หรือ เครื่องแนม ” หมาย ถึง อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่จัดเพิ่มขึ้นให้กับอาหารหลักในสำรับ เพื่อช่วยเสริมรสชาติอาหารในสำรับนั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อร่อยมากขึ้น นอกจากความอร่อยที่ได้จากเครื่องเคียงเครื่องแนมแล้ว เราจะเห็นศิลปะความงดงามในการจัดวางและการประดิษฐ์อาหารในสำรับนั้นๆ อาหารหลักแต่ละอย่างมีเครื่องแนมที่แตกต่างกันไป ดังนี้

       
    ประเภทหลนและน้ำพริก


          -หลนต่างๆ มักกินกับผักดิบ นิยมใช้ปลาย่าง เป็นเครื่องแนม
          -น้ำพริกกะปิ กินกับผักต้มกะทิ นิยมใช้ปลาฟู กุ้งเค็ม เป็นเครื่องแนม กินกับผักดอง นิยมใช้ประหลาดุกย่าง ปลาฟู หมูหวาน กุ้งเค็ม    เป็น เครื่องแนม กินกับผักผัดน้ำมัน นิยมใช้ปลาทูนึ่ง ปลาย่าง กุ้งเค็ม ไข่เจียว เป็นเครื่องแนม
 
                     
          -น้ำพริกลงเรือ นิยมทานร่วมกับปลาย่าง
          -แสร้งว่า นิยมทานร่วมกับ ปลาเค็ม
               

          -แกงเผ็ด นิยมใช้ของเค็ม หรือเปรี้ยวๆ หวานๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ปลาแห้ง เนื้อเค็ม ปลา เค็ม แตงโม
          -แกงส้ม นิยมใช้ของเค็มๆ มันๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ไข่เจียว ปลาเค็ม ไข่เค็ม หมูแดดเดียว
          -แกงขี้เหล็ก นิยมใช้หัวผักกาดยำเค็ม เป็นเครื่องแนม
แกงคั่ว นิยมใช้ของเค็มๆ เปรี้ยวๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ผัดหัว ผักกาดเค็ม
          -แกงมัสมั่น นิยมใช้อาจาด ผักดองอบน้ำส้ม ถัวลิสงทอดเคล้าเกลือ เป็นเครื่องแนม


 

ประเภทอาหารจานเดียว

   
     
          -ข้าวมันส้มตำ นิยมใช้เนื้อเค็มฝอยทอดกรอบ เป็นเครื่อง                 -ข้าวคลุกกะปิ นิยมใช้หมูหวาน เป็นเครื่องแนม
         -ข้าวผัด นิยมใช้แตงกวา เป็นเครื่องแนม

     


ประเภทยำ

     
 

           -ยำไข่จะละเม็ด นิยมใช้มังคุด เป็นเครื่องแนม
           -ยำปลาทูนึ่ง นิยมใช้ผักกาดหอม ใบชะพลู เป็นเครื่องแนม






              วัฒนธรรม การกินอาหารของคนไทยภาคกลาง แต่เดิมนั้นนิยมนั่งรับประทานอาหารกับพื้น สำรับอาหารวางอยู่บนพื้นที่ปูด้วยเสื่อ พรม หรือโต๊ะเตี้ยตามแต่ฐานะของแต่ละครอบครัว มักรับประทานข้าวด้วยการเปิบมือ มีช้อนกลางสำรับตักแกงหรืออาหารที่เป็นน้ำ ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมการรับประทานอาหารจากชาติตะวันตกเข้ามา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทย มาเป็นการวางอาหารตั้งบนโต๊ะ นั่งเก้าอี้รับประทานอาหาร ใช้ช้อนและส้อมเป็นอุปกรณ์ในการรับประทานที่สำคัญ

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ



ประวัติความเป็นมา

            ตำบลวังโป่ง เดิมเป็นเขตการปกครองอำเภอชนแดน เนื่องด้วยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอวังโป่ง ในวันที่ 27 ตุลาคม 2526 และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2526 โดยมีนายวัลลภ วรรณาดิเรก ดำรง

                  ตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.2533 มีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน และเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2546 ได้จัดตั้งหมู่บ้านใหม่ขึ้น 1 หมู่บ้าน


พื้นที่

สภาพเป็นที่ราบเชิงเขา มีลำห้วยวังโป่งไหลผ่าน

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ           ติดกับ ต. วังหิน อ. วังโป่ง จ. เพชรบูรณ์
ทิศใต้               ติดกับ ต. วังศาล อ. วังโป่ง จ. เพชรบูรณ์
ทิศตะวันออก    ติดกับ ต. ซับเปิบ อ. วังโป่ง จ. เพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก     ติดกับ ต. ท้ายดง อ. วังโป่ง จ. เพชรบูรณ์


อาชีพ

อาชีพหลัก ทำนา
อาชีพเสริม ทำสวนผลไม้ ทอผ้า ปลูกพืชฤดูแล้ง




สาธารณูปโภค


            จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,150 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 85.00 จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 98 หลังคาเรือน



การเดินทาง

           จากศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ – ถึงอำเภอวังโป่ง ระยะทาง 70 กิโลเมตร การเดินทางจากศาลากลางถึงอำเภอชนแดน มีรถประจำทาง ดังนี้ 1. สายเพชรบูรณ์-ตะพานหิน 2. สายเพชรบูรณ์-นครสวรรค์ 3. สายตะพานหิน-ชุมแพ จากอำเภอชนแดนถึงอำเภอวังโป่ง มีรถประจำทาง ดังนี้ 1. รถประจำทางสายกรุงเทพฯ-วังโป่ง 2. รถสองแถวรับจ้าง สายชนแดน-วังหิน 3. รถสองแถวรับจ้าง สายชนแดน-วังโป่ง



ผลิตภัณฑ์

ข้าวซ้อมมือ ผ้าทอด้วยกี่กระตุก